วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558



ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
                1. ด้านการศึกษา
                - ช่วยนำเสนอข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ
                - ช่วยรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในแหล่งข้อมูลเดียวกัน
                - ช่วยให้ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
                - ช่วยแลกเปลี่ยนและนำเสนอแนวความคิดของผู้เรียนและผู้อื่น
                2. ด้านการสื่อสาร
                - ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร
                - เป็นสื่อกลางในรับและส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
                - ช่วยกระจายข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหนึ่งไปยังผู้ใช้ทุกคน
                3. ด้านการบริหารประเทศ
                - เป็นช่องทางการรับรู้ข้อมูลจากประชาชน
                - เป็นช่องทางการนำเสนอข้อมูลไปสู่ประชาชน
                - ส่งเสริมการแสดงออกซึ่งประชาธิปไตย
                - เพิ่มทัศนคติที่เกี่ยวกับการบริหารประเทศด้านบวกให้แก่ประชาชน
                4. ด้านสังคมศาสตร์
                - ช่วยเก็บข้อมูลสถิติด้านสังคมศาสตร์
                - ช่วยคำนวณแนวโน้มปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
                - ช่วยนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของกราฟ  แผนภูมิ  หรือภาพ 3 มิติ  ทำให้สามารถเปรียบเทียบข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น
                5. ด้านวิศวกรรม
                - ช่วยออกแบบและคำนวณโครงสร้างบ้านและอาคาร
                - สร้างโมเดลจำลองก่อนการสร้างโมเดลจริง
                - ควบคุมการทำงานด้านก่อสร้างที่มีความละเอียดอ่อน
                - ช่วยประมวลผลและประเมินสถานการณ์ที่อาจเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต
                6. ด้านวิทยาศาสตร์
                - ช่วยเก็บและประมวลผลข้อมูลในงานวิจัยและการทดลองต่าง ๆ
                - เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์นั้น
                - ช่วยทำงานวิจัยหรืองานทดลองที่มีความละเอียดและมีขนาดที่เล็ก ๆ ได้
                - สร้างแบบจำลองงานทดลองเพื่อลดความผิดพลาดจากการทดลองกับของจริง
                7. ด้านการแพทย์
                - ลดความผิดพลาดและเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยและรักษาโรค
                - เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ
                - ช่วยลดเวลาในการักษาโรค
                8. ด้านอุตสาหกรรม
                - ช่วยควบคุมการผลิตชิ้นงานให้ได้ปริมาณและคุณภาพตามต้องการ
                - ช่วยทำงานในพื้นที่เสี่ยงภัยหรืองานที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้
                - ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน
                - ช่วยคำนวณปริมาณวัตถุดิบ  สินค้า  และกำไร
                9. ด้านธุรกิจ
                - เป็นช่องทางในการนำเสนอสินค้า
                - ช่วยตรวจสอบและสั่งซื้อสินค้าต่าง ๆ
                - ขยายโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ที่มีเงินทุนต่ำ
                - ช่วยคำนวณตัวเลขทางธุรกิจได้อย่างแม่นยำ
                - เพิ่มความสะดวกในการซื้อและขายสินค้าจากทั่วโลก
                10. ด้านธนาคาร
                - ลดขั้นตอนในการดำเนินงาน
                - ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคาร  ทำให้สามารถจัดการด้านการเงินได้ทุกที่ตลอดเวลา
                - ช่วยเก็บข้อมูลลูกค้าไว้ในส่วนกลาง  ทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูลของลูกค้าได้จากทุกธนาคาร
                11. ด้านสำนักงาน
                - ใช้สร้างงานนำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจ
                - ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการพิมพ์เอกสาร
                - ช่วยเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร


               12. ด้านความบันเทิง
                - ช่วยให้เกิดความสนุกสนานและทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
                - เพิ่มทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
                - ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
                - ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านเสมอ

บทบาทของคอมพิวเตอร์


บทบาทของคอมพิวเตอร์
ทบาทของคอมพิวเตอร์
               1. บทบาทคอมพิวเตอร์ต่องานด้านการศึกษา  ในสถานศึกษาต่าง ๆ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน
3  ลักษณะ  คือ
                - ใช้สำหรับผู้เรียน  เพื่อค้นหาความรู้หรือข้อมูลที่สนใจจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ เช่น  การใช้คอมพิวเตอร์-
ช่วยสอน  และ  E-Learning
                - ใช้สำหรับผู้สอน  เพื่อเป็นสื่อในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียน  เช่น  การนำคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับ โปรเจคเตอร์เพื่อนำเสนอข้อมูล
                - ใช้สำหรับงานด้านการบริหาร  เพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา  เช่น  การจัดเก็บข้อมูล เกี่ยวกับสถานศึกษาและผู้เรียน  การประมวลผลคะแนนของผู้เรียน
                2. บทบาทคอมพิวเตอร์ในงานด้านการสื่อสาร  ในปัจจุบันนิยมเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ร่วมกัน
หลาย ๆเครื่องจนเกิดเป็นเครือข่าย  โดยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดมีพื้นที่ครอบคลุมทั่วโลกเรียกว่า
อินเตอร์เน็ต ทำให้คอมพิวเตอร์มีความสารถในการทำงานมากยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถทางด้าน
การติดต่อสื่อสาร
ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะข้อมูลที่เป็นข้อความเพียงอย่างเดียวเท่านั้น  แต่สามารถส่งข้อมูลในรูปแบบ ต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลายในรูปแบบของมัลติมีเดีย  เช่น  การดาวน์โหลดข้อมูลต่าง ๆ
                3. บทบาทคอมพิวเตอร์ในงานด้านการบริหารประเทศ  รัฐบาลมีนโยบายที่จะนำ เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการบริหารประเทศในด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์  เพื่ออำนวยความสะดวก  เพิ่มความโปร่งใส  และลดปัญหาการคอรัปชันของหน่วยงานทางราชการ
โดยสามารถแบ่งลักษณะของการทำงานเป็นการบริการประชาชน  การรับและเผยแพร่ข้อมูลระหว่างประชาชน กับรัฐบาล  และการติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐบาล  เช่น  การชำระภาษีกับ กรมสรรพากรผ่านทางเว็บไซต์ 


                4. บทบาทคอมพิวเตอร์ในงานด้านสังคมศาสตร์  มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเก็บข้อมูลและช่วย
ทำการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบทางสังคมศาสตร์ในด้านต่าง ๆ  ช่วยให้เราทราบข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตและความเป็นอยู่
ในสังคมได้ง่ายยิ่งขึ้น  เช่น  การจัดทำสถิติในรูปแบบของกราฟประชากร
                5. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานด้านวิศวกรรม  มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ด้านวิศวกรรมในเกือบ
ทุกขั้นตอนของการทำงาน  เพื่อช่วยส่งเสริมการทำงานที่ได้มาตราฐานระดับสากลและส่งเสริมความคิด สร้างสรรค์ของผู้สร้างสรรค์งานด้านวิศวกรรม
                6. บทบาทคอมพิวเตอร์ในงานด้านวิทยาศาสตร์  มีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับเครื่องมือทาง
วิทยาศาสตร์  เพื่อใช้เก็บข้อมูลและส่งเสริมการทำงานให้แม่นยำและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น  เช่น  การใช้คอมพิวเตอร์
ช่วยในการตรวจสอบส่วนประกอบของธาตุ

                7. บทบาทคอมพิวเตอร์ในงานด้านการแพทย์  การที่แพทย์มีเครื่องมือที่ทันสมัย  สามารถวางแผน
การรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และช่วยลดความเสี่ยงในการรักษาผู้ป่วยแล้ว  บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงาน
ด้านการแพทย์ยังช่วยให้ข้อมูลและช่วยวินิจฉัยโรคเบื้องต้นผ่านทางเครือข่ายได้อีกด้วย
                8. บทบาทคอมพิวเตอร์ในงานด้านอุตสาหกรรม  มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงานของ เครื่องจักร การคำนวณวัตถุดิบ  เวลาที่ใช้ในการผลิต  และผลผลิตที่ได้จากการผลิต  มีคุณภาพและมาตราฐาน ที่แน่นอนตรงต่อความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น  และยังช่วยให้มนุษย์ไม่ต้องทำงานที่เสี่ยงต่ออันตราย อีกด้วย
                9. บทบาทคอมพิวเตอร์ในงานด้านธุรกิจ  จะเห็นได้ว่ามีการส่งเสริมบทบาทของคอมพิวเตอร์ใน
งานด้านธุรกิจในรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จากรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง  มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการช่วย
วางแผน ด้านธุรกิจการประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ  และช่วยนำเสนอสินค้าในรูปแบบของเว็บไซต์ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
                10. บทบาทคอมพิวเตอร์ในงานด้านธนาคาร  มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการด้านงาน สำนักงานของธนาคาร  การใช้คอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลลูกค้า  ประมวลผล  การฝากเงิน  การถอนเงิน
และอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจำเป็นต้องมีการประมวลผลแบบทันที  เพื่อให้เกิดความถูกต้องและแม่นยำ
                11. บทบาทคอมพิวเตอร์ในงานด้านสำนักงาน เพื่อจัดทำเอกสารงานพิมพ์ งานนำเสนอข้อมูล
การเก็บข้อมูล  การคำนวณและการจัดการข้อมูลที่ใช้ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร  ซึ่งช่วยให้การจัดการ งานต่าง ๆในสำนักงานมีคุณภาพ  ประหยัดเวลา  และประหยัดทรัพยากร
                12. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานด้านความบันเทิง  แบ่งได้  2  ประเภท  ดังนี้
                -เพลงและภาพยนตร์ ปัจจุบันผู้ใช้นิยมฟังเพลงและดูภาพยนตร์ผ่านทางคอมพิวเตอร์ เนื่องจากสะดวก
ประหยัด  ภาพและเสียงมีคุณภาพเทียบเท่ากับสื่ออื่น ๆ มีการให้บริการดาวน์โหลดเพลงและตัวอย่างภาพยนตร์ จากระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  และคอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถสร้างภาพยนตร์แอนิเมชัน
                - เกมคอมพิวเตอร์  มีการติดตั้งเกมไว้ในคอมพิวเตอร์เพื่อเล่นคนเดียวและการเล่นผ่านเครือข่าย
คอมพิวเตอร์หรือเกมออนไลน์ซึ่งกำลังเป็นที่แพร่หลาย  เนื่องจากสามารถเล่นพร้อม ๆ กันได้หลายคน

ระดับของสารสนเทศ


ระดับของสารสนเทศ
ระดับขององค์กร 
          1. สารสนเทศระดับบุคคล  คือ  สารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานให้แก่ผู้ใช้แต่ละคน  ทำให้ทำงานในหน้าที่ 
ที่รับผิดชอบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ซึ่งสารสนเทศที่ใช้จะมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของการทำงาน 
และความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล  เช่นพนักงานขายใช้สารสนเทศในการนำเสนอสินค้าให้ดูน่าสนใจ  และ
นักเรียนใช้สารสนเทศทำรายงานที่สะอาดและเรียบร้อย
           2. สารสนเทศระดับกลุ่ม  คือ  สารสนเทศที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีจุดมุ่งหมาย
ในการทำงานอย่างเดียวกัน  ซึ่งส่งเสริมการใช้ข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐานร่วมกัน  สารสนเทศระดับกลุ่ม 
จึงมีการใช้ระบบเครือข่ายมาร่วมในการทำงาน  จึงทำให้สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และข้อมูลที่เก็บไว้ใน 
ระบบฐานข้อมูลร่วมกัน  ด้วยการสร้างแฟ้มข้อมูลขึ้นที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์  ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเก็บ 
ข้อมูล  เช่น พนักงานขายสามารถใช้ข้อมูลสิ้นค้าแบบเดียวกันได้ทุกคน  และนักเรียนสามารถสั่งพิมพ์เอกสาร 
ด้วยเครื่องพิมพ์เดียวกันจากคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
           3. สารสนเทศระดับองค์กร  คือ  สารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานในภาพรวมขององค์กร  ซึ่งจะเกี่ยวข้อง 
สัมพันธ์กันในหลายฝ่าย  จึงมีการเชื่อมโยงสารสนเทศระดับกลุ่มหลาย ๆ กลุ่มเข้าด้วยกัน  ทำให้เกิดประโยชน์ใน
การบริหารงานในระดับผู้ปฏิบัติการและผู้บริหารระดับสูง  ซึ่งสามารถใช้ข้อมูลจากฝ่ายใดก็ได้  เพื่อประโยชน์ใน 
การตัดสินใจ

ระดับของผู้บริหาร 
            1. ผู้บริหารระดับล่าง  เป็นการใช้สารสนเทศในการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน  เช่น
ผู้จัดการใช้โปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนสารสนเทศกับหัวหน้าแผนกต่าง ๆ
และนักเรียนใช้สารสนเทศในการทำงานหรือในการเรียนในวิชาต่าง ๆ
            2.  ผู้บริหารระดับกลาง  เป็นการใช้สารสนเทศเพื่อการวางแผนระยะสั้น  เหมาะสำหรับงานประเภท
การควบคุมและจัดการ  เช่น  ผู้จัดการนำสารสนเทศมาวางแผนการผลิตสินค้าให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า  และนักเรียนใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเลือกเรียนวิชาเลือกที่เหมาะสมกับนักเรียน
            3. ผู้บริหารระดับสูง  เป็นการใช้สารสนเทศเพื่อการวางแผนระยะยาว  ใช้สำหรับควบคุมนโยบาย
และวางแผนเชิงกลยุทธ์  สารสนเทศที่ใช้จึงมักเป็นผลสรุปที่สามารถนำมาประกอบ การวิเคราะห์  การประเมิน
และการตัดสินใจได้ง่ายยิ่งขึ้น  เช่นผู้จัดการนำผลสรุปค่าเฉลี่ยการผลิตสินค้ามาใช้ในการตัดสินใจซื้อ 
เครื่องจักรใหม่  และนักเรียน ใช้ผลสรุปคะแนนเรียนทั้งหมดมาตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย
ตามความสามารถ  เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพ

การจัดการสารสนเทศ


การจัดการสารสนเทศ

  การจัดการสารสนเทศมี  3  ขั้นตอน  คือ  การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล  การประมวลผลข้อมูล  

               และการดูแลรักษาข้อมูล
การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล 
            เป็นขั้นตอนแรกในการจัดการสารสนเทศ  ซึ่งควรกระทำควบคู่กันไป  คือ  เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้ว
ก็ทำการตรวจสอบข้อมูลนั้นทันที  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตามความต้องการมากที่สุด
            1. การเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นการจัดการกับข้อมูลจำนวนมาก  จึงควรกำหนดว่าจะต้องใช้ข้อมูลอะไร 
บ้าง  ข้อมูลได้มาจากไหน  และจัดเก็บข้อมูลนั้นมาได้อย่างไร
           2. การตรวจสอบข้อมูล  เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเพื่อได้สารสนเทศ 
ที่คุณภาพ
การประมวลผลข้อมูล 
      การประมวลผลข้อมูล  คือ  การนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วหรือข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมและตรวจสอบมา
กระทำเพื่อให้ข้อมูลเปลี่ยนแปลงไปจนเกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ  ดังนี้
      1. การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล  เป็นการแยกประเภทของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาอย่างเป็นระบบตามกลุ่ม
และประเภทของข้อมูลนั้น  เพื่อให้สามารถดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น 
ทั้งนี้อาจเก็บไว้ในรูปของแฟ้มเอกสารหรือแฟ้มข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์ก็ได้
      2. การจัดเรียงข้อมูล  เป็นขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล  เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาหรืออ้างอิงข้อมูลในอนาคต
      3. การคำนวณ  เป็นการประมวลผลที่ต้องการผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่มีความละเอียดถูกต้อง  แม่นยำ
เนื่องจากที่รวบรวมและจัดเก็บมานั้นอาจมีทั้งรูปแบบของข้อความและตัวเลข  ซึ่งต้องมีการคำนวณหาค่าเฉลี่ยหรือ 
ผลรวมของข้อมูลนั้น ๆ
      4. การทำรายงาน  เป็นการประมวลผลที่มีความสลับซับซ้อนมากที่สุด  โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่ ข้อมูลในอนาคต  ผู้ดำเนินการจะต้องสรุปข้อมูลเพื่อทำรายงานให้ตรงกับความต้องการในการใช้สารสนเทศ นั้น ๆ 
โดยจะต้องนำเสนอรายงานในรูปแบบที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการสารสนเทศ
การดูแลรักษาข้อมูล 
        การดูแลรักษาข้อมูล  เป็นขั้นตอนการจัดการสารสนเทศมีจุดประสงค์หลักเพื่อป้องกันและเก็บรักษาข้อมูล ไม่ให้สูญหาย  ช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลสำหรับนำกลับมาใช้ใหม่ในอนาคต
         1. การจัดเก็บ  คือการนำข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบและประมวลผลแล้วมาบันทึกเข้าสู่ระบบข้อมูล
อย่างมีระเบียบและเป็นหมวดหมู่  เพื่อความสะดวกในการเรียกใช้งาน  ทั้งนี้อาจจัดเก็บไว้ในรูปแบบของแฟ้มเอกสาร 
สิ่งพิมพ์หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์ก็ได้
        2. การทำสำเนา  คือ  การเพิ่มจำนวนข้อมูลด้านปริมาณ  โดยเนื้อหาของข้อมูลจะไม่เปลี่ยนแปลงไป 
จากต้นฉบับหรือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว  สามารถกระทำได้โดยการคัดลอกทั้งจากมนุษย์หรือ 
เครื่องจักรต่าง ๆ  ซึ่งเป็นเครื่องถ่ายเอกสารหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้
        3. การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล  คือ  การนำสำเนาที่ทำเพิ่มไว้แจกจ่ายให้แก่ผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้อง
        4. การปรับปรุงข้อมูล  คือ  การแก้ไขปรับปรุงรายการข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน  อาจกระทำโดยการแก้ไขข้อมูลบางส่วนหรือบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมลงในระบบข้อมูล

วิธีการประมวลผลของข้อมูล

วิธีการประมวลผลของข้อมูล
ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1) ข้อมูลที่เป็นตัวเลข (Numeric Data) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้แทนจำนวนที่สามารถนำ ไปคำนวณได้ ข้อมูลแบบนี้เขียนได้หลายรูปแบบ คือ
ก. เลขจำนวนเต็ม หมายถึง ตัวเลขที่ไม่มีจุดทศนิยม เช่น 12, 9, 137 , 8319 , -46
ข. เลขทศนิยม หมายถึง ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม ซึ่งอาจมีค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น 12 หรือเป็นจำนวนที่มีเศษทศนิยมก็ได้ เช่น 12.763
เลขทศนิยมแบบนี้สามารถเขียนได้ 2 รูปแบบคือ
ก. แบบที่ใช้กันทั่วไป เช่น 12., 9.0 ,17.63, 119.3267 , -17.34
ข. แบบที่ใช้งานทางวิทยาศาสตร์ เช่น
123. x 104 หมายถึง 1230000.0
13.76 x 10-3 หมายถึง 0.01376
- 1764.0 x 102 หมายถึง -176400.0
- 1764.10-2 หมายถึง -17.64
2) ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ (Character Data) หมายถึง ข้อมูลที่ ไม่สามารถนำ ไปคำนวณได้ แต่อาจนำไปเรียงลำดับได้ เช่น การเรียงลำดับตัวอักษร ข้อมูลอาจเป็นตัวหนังสือ ตัวเลข หรือเครื่องหมายใด ๆ เช่น COMPUTER, ON-LINE, 1711101,&76

วิธีการประมวลผลข้อมูล
วิธีการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ มีหลายวิธี ดังนี้
1) การคำนวณ (Calculation) หมายถึง การนำข้อมูลที่เป็นตัวเลขมาทำการ บวก ลบ คูณ หารยกกำลัง เช่น การคำนวณภาษี การคำนวณค่าแรง เป็นต้น
2) การจัดเรียงข้อมูล (Sorting) เป็นการเรียงข้อมูลจากน้อยไปหามาก หรือมากไปหาน้อย เพื่อทำให้ดูง่ายขึ้น ค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้เร็วขึ้น เช่น การเรียงคะแนนดิบของนักเรียนจากมาก ไปหาน้อย การเก็บบัตรดัชนีสำหรับหนังสือต่างๆ โดยการเรียงตามตัวอักษร จาก ก ข ค ถึง ฮ เป็นต้น
3) การจัดกลุ่ม (Classifying) หมายถึง การจัดข้อมูลโดยการแยกออกเป็นกลุ่มหรือประเภท ต่างๆ เช่น การนำข้อมูลเกี่ยวกับประวัตินักศึกษา มาแยกตามคณะต่างๆ เช่น แยกเป็นนักศึกษาที่ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ นักศึกษาที่สังกัดคณะครุศาสตร์ เป็นต้น การทำเช่นนี้ทำให้การค้นหาข้อมูล ทำได้ง่ายขึ้น และยังสะดวกสำหรับทำรายงานต่างๆ
4) การดึงข้อมูล (Retrieving) หมายถึง การค้นหาและการนำข้อมูลที่ต้องการมาจากแหล่ง เก็บข้อมูล เพื่อนำไปใช้งาน
5) การรวมข้อมูล (Merging) หมายถึง การนำข้อมูลตั้งแต่สองชุดขึ้นไปมารวมกันให้เป็นชุด เดียวเช่น การนำประวัติส่วนตัวของนักศึกษา และประวัติการศึกษามารวมเป็นชุดเดียวกัน เป็นประวัตินักศึกษาเป็นต้น
6) การสรุปผล (Summarizing) หมายถึง การสรุปส่วนต่างๆของข้อมูลโดยย่อเอา เฉพาะส่วนที่เป็น ใจความสำคัญ เพื่อเน้นจุดสำคัญและแนวโน้ม เช่น การนำข้อฒุลมาแจงนับและ ทำเป็นตารางการ หายอดนักศึกษา ของแต่ละวิชา ข้อมูลเหล่านี้ใช้สำหรับพิมพ์เป็นรายงานสรุป ส่งขึ้นไปให้ผู้บริหาร ระดับสูง เพื่อใช้ในการบริหาร
7) การทำรายงาน (Reporting) หมายถึง การนำข้อมูลมาจัดพิมพ์รายงานรูปแบบต่างๆ เช่น รายงานการวิเคราะห์อาชีพของผู้ปกครองของนักศึกษา รายงานการเรียนของนักศึกษา เป็นต้น
8) การบันทึก (Recording) หมายถึง การจดบันทึกข้อมูลเอาไว้โดยทำการคัดลอกข้อมูล จากต้นฉบับแล้วเก็บเป็นแฟ้ม (Filing) เช่น การบันทึกประวัติส่วนตัวนักศึกษาแต่ละคน เป็นต้น
9) การปรับปรุงรักษาข้อมูล (Updating) หมายถึง การเพิ่ม (Add) หรือการเอาออก (Delete) และการเปลี่ยนค่า (Change) ข้อมูลที่อยู่ในแฟ้มให้ทันสมัยอยู่เสมอ

วิธีการประมวลผล (Processing Technique) ในรูปแบบที่2 การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการประมวลผลทางธุรกิจนั้นมีวิธีการประมวลผลได้หลายแบบดังนี้
1. การประมวลผลแบบชุด (Batch Processing)
คือ การประมวลผลโดยผู้ใช้จะทำการรวบรวมเอกสารที่ต้องการประมวลผลไว้เป็นชุดๆ ซึ่งแต่ละชุดอาจจะกำหนดเท่ากับเอกสาร 10 หรือ 20 รายการหรือมากกว่าก็ได้แต่ให้มีขนาดเท่ากัน แล้วป้อนข้อมูลดังกล่าวสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นจึงใช้คำสั่งให้ประมวลผลพร้อมกันที่ละชุด

2. การประมวลผลแบบโต้ตอบ (Interactive)
หมายถึง การทำงานในลักษณะที่มีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้สามารถที่จะตรวจสอบข้อมูลได้ตลอดเวลา เช่น กรณีที่ลูกค้า นายวัลลภ คลองหก จากบริษัทราชมงคล จำกัด ติดต่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จากแผนกขาย เจ้าหน้าที่พนักงานขายจะต้องป้อนรหัสลูกค้า เพื่อเรียกประวัตินายวัลลภขึ้นมาพิจารณาว่าใน ขณะนี้ได้สั่งซื้อสินค้าเกินวงเงินเครดิตหรือไม่ ถ้าไม่เกินก็อนุมัติการขายแต่ถ้าหากเกินก็อาจจะให้ชำระเป็นเงินสด จากนั้นจะมีการตรวจสอบแฟ้มสินค้าคงคลังว่ามีสินค้าดังกล่าวหรือไม่เพื่อตัดสต็อก (Stock) แล้วพิมพ์บิลเพื่อจัดส่งให้ลูกค้า แสดงการทำงานการออกบิลโดยการประมวลผลแบบโต้ตอบ

ประเภทของข้อมูล ข้อมูลสารสนเทศ



ประเภทของข้อมูล ข้อมูลสารสนเทศ

การแบ่งประเภทของข้อมูลขึ้นอยู่กับ     - ความต้องการของผู้ใช้      - ลักษณะของข้อมูลที่นำไปใช้      - เกณฑ์ที่นำมาพิจารณา
ในหน่วยการเรียนนี้จะยกตัวอย่างการแบ่งข้อมูลไว้ 4 รูปแบบ ดังนี้1. การแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูลเป็นการแบ่งข้อมูลโดยพิจารณาจากการรับข้อมูลของประสาทสัมผัสของร่างกาย  ได้แก่   - ข้อมูลภาพที่ได้รับจากการมองเห็นด้วยดวงตา   - ข้อมูลเสียงที่ได้รับจากการฟังด้วยหู   - ข้อมูลกลิ่นที่ได้รับจากการสูดดมด้วยจมูก   - ข้อมูลรสชาติที่ได้รับจากการรับรสชาติด้วยลิ้น   - ข้อมูลสัมผัสที่ได้รับจากความรู้สึกด้วยผิวหนัง 
2. การแบ่งข้อมูลตามแหล่งข้อมูลที่ได้รับโดยพิจารณาจากลักษณะของที่มาหรือการได้รับข้อมูล  ได้แก่   - ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data)  คือ ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรงด้วยวิธีต่างๆ เช่น จากการสอบถามการสัมภาษณ์การสำรวจการจดบันทึกตัวอย่างข้อมูลปฐมภูมิ  ได้แก่  ข้อมูลการมาโรงเรียนสายของนักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ซึ่งได้จากการจดบันทึกในรอบ  1  เดือนที่ผ่านมา
ซึ่งได้จากการจดบันทึกในรอบ  1  เดือนที่ผ่านมา   - ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data)  คือ  การนำข้อมูลที่ผู้อื่นได้เก็บรวบรวมหรือบันทึกไว้มาใช้งานผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเก็บรวบรวมและบันทึกด้วยตนเอง  จัดเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต  มักผ่านการประมวลผลแล้ว   ตัวอย่างข้อมูลทุติยภูมิ  ได้แก่  สถิติการมาโรงเรียนสายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ในปีพ.ศ.25503. การแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในในสื่ออิเล็กทรอนิกส์    มีลักษณะคล้ายการแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล  แต่มีการแยกลักษณะข้อมูลตามชนิดและนามสกุลของข้อมูลนั้น ๆ  ได้แก่                - ข้อมูลตัวอักษร เช่น  ตัวหนังสือ  ตัวเลข  และสัญลักษณ์  ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้าย
                - ข้อมูลภาพ  เช่น  ภาพกราฟิกต่าง ๆ และภาพถ่ายจากกล้องดิจิทัล ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุล
             - ข้อมูลเสียง  เช่น  เสียงพูด  เสียงดนตรี  และเสียงเพลง ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้าย
               - ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว  เช่น  ภาพเคลื่อนไหว  ภาพมิวสิกวีดีโอ  ภาพยนตร์  คลิปวิดีโอ ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น  .avi 
4. การแบ่งข้อมูลตามระบบคอมพิวเตอร์     มีลักษณะคล้ายและใกล้เคียงกับการแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาก  แต่มุ่งเน้นพิจารณาการแบ่งประเภทตามการนำข้อมูลไปใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์  ได้แก่                - ข้อมูลเชิงจำนวน  มีลักษณะเป็นตัวเลขที่สามารถนำมาคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ได้  เช่นจำนวนเงินในกระเป๋า  จำนวนค่าโดยสารรถประจำทาง  และจำนวนนักเรียนในห้องเรียน                 - ข้อมูลอักขระ  มีลักษณะเป็นตัวอักษร  ตัวหนังสือ  และสัญลักษณ์ ต่างๆ ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูลและเรียงลำดับได้แต่ไม่สามารถนำมาคำนวณได้  เช่น  หมายเลขโทรศัพท์  เลขที่บ้านและชื่อของนักเรียน                - ข้อมูลกราฟิก  เป็นข้อมูลที่เกิดจากจุดพิกัดทางคอมพิวเตอร์  ทำให้เกิดรูปภาพหรือแผนที่  เช่น  เครื่องหมายการค้า  แบบก่อสร้างอาคาร  และกราฟ                - ข้อมูลภาพลักษณ์  เป็นข้อมูลแสดงความเข้มและสีของรูปภาพที่เกิดจากการสแกนของสแกนเนอร์์เป็นหลัก  ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูล  ย่อหรือขยาย  และตัดต่อได้  แต่ไม่สามารถนำมาคำนวณหรือดำเนินการอย่างอื่นได้

ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ

ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ

ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ในรูปแบบของตัวเลข ภาพ ตัวอักษร และสัญลักษณ์ต่างๆ เช่นคะแนนสอบวิชาภาษาไทย ราคาสินค้า จำนวนนักเรียนในโรงเรียน
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมีการประมวลผลหรือวิเคราะห์สรุปผลด้วยวิธีการต่าง ๆแล้วเก็บรวบรวมไว้ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามต้องการการประมวล (Data Processing)เป็นการนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆที่เก็บรวบรวมไว้มาผ่านกระบวนการต่างๆเพื่อแปรสภาพข้อมูลให้เป็นระบบและอยู่ในรูปแบบที่ต้องการ

ความรู้ หรือองค์ความรู้ (Knowledge)ความรู้มีความหมายหลัก ๆ อยู่ 2 ประการ คือ

ความรู้ หมายถึง เนื้อหาข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริง ความคิดเห็นความคิด ทฤษฎี หลักการและรูปแบบ (หรือกรอบความคิดอื่น ๆ ) หรือข้อมูลอื่น ๆ ก็มีความจำเป็น เช่น ความรู้ด้านเคมี ด้านคณิตศาสตร์ เป็นต้น

ความรู้ หมายถึง การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้กล่าวอ้างถึงข้อมูล หรือข้อเท็จจริงที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ หรือเกิดจากปรากฎการณ์ทางธรรมชาติมาพูดถึงด้วยความเชื่อถือ หรือความศรัทธา

การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อความสำเร็จของบุคคลในด้านต่างๆ ดังนี้
1. การศึกษา การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษาของบุคคลทุกระดับ ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในปัจจุบันตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นบทบาทของผู้สอนจึงเปลี่ยนเป็นผู้ให้คำแนะนำชี้แนะโดยอาศัยทรัพยากรเป็นพื้นฐานสำคัญ

2. การดำรงชีวิตประจำวัน การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะผู้รู้สารสนเทศจะเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์ประเมินและใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองเมื่อต้องการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ถ้าต้องการซื้อเครื่องปรับอากาศของบริษัทใดบริษัทหนึ่งก็ต้องพิจารณามาตรฐาน คุณภาพ บริการหลังการขาย และเปรียบเทียบราคา แล้วจึงค่อยตัดสินใจ เป็นต้น

3. การประกอบอาชีพ การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการประกอบอาชีพของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะบุคคลนั้นสามารถแสวงหาสารสนเทศที่มีความจำเป็นต่อการประกอบอาชีพของตนเองได้ เช่น เกษตรกร เมื่อประสบปัญหาโรคระบาดกับพืชผลทางการเกษตรของตน ก็สามารถหาตัวยาหรือสารเคมีเพื่อมากำจัดโรคระบาด ดังกล่าวได้ เป็นต้น

4. สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะสังคมในยุคสารสนเทศ (Information Age) 
บุคคลจำเป็นต้องรู้สารสนเทศเพื่อปรับตนเองให้เข้ากับสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เช่น การอยู่ร่วมกันในสังคม การบริหารจัดการ การดำเนินธุรกิจและการแข่งขัน การบริหารบ้านเมืองของผู้นำประเทศ เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าผู้รู้สารสนเทศ คือ ผู้ที่มีอำนาจสามารถาชี้วัดความสามารถขององค์กรหรือประเทศชาติได้ ดังนั้นประชากรที่เป็นผู้รู้สารสนเทศจึงถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของประเทศ


หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
ระบบการทํางานของคอมพิวเตอร์ การทํางานของคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) 
           ทําหน้าที่ในการรับข้อมูลหรือคําสั่งจากภายนอกเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจํา เพื่อเตรียมประมวลผล
ข้อมูลที่ต้องการ  ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการนําข้อมูลที่ใช้กันอยู่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น  มีอยู่หลายประเภทด้วย
กันสําหรับอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี ดังต่อไปนี้
           - Keyboard
           - Mouse
           - Disk Drive
           - Hard Drive
           - CD-Rom
           - Magnetic Tape
           - Card Reader
           - Scanner

2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) 

           ทําหน้าที่ในการคํานวณและประมวลผล แบ่งออกเป็น 2 หน่วยย่อย คือ
           - หน่วยควบคุม  ทําหน้าที่ในการดูแล ควบคุมลําดับขั้นตอนของการประมวลผล และการทํางาน
ของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในหน่วยประมวลผลกลาง  และช่วยประสานงานระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับ
อุปกรณ์นําเข้าข้อมูล อุปกรณ์ในการแสดงผล และหน่วยความจําสํารอง
           - หน่วยคํานวณและตรรก ทําหน้าที่ในการคํานวณและเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆ ที่ส่งมาจาก
หน่วยควบคุม และหน่วยความจํา
3. หน่วยความจํ า (Memory) 
           ทําหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือคําสั่งต่างๆ ที่รับจากภายนอกเข้ามาเก็บไว้ เพื่อประมวลผลและยัง
เก็บผลที่ได้จากการประมวลผลไว้เพื่อแสดงผลอีกด้วย ซึ่งแบ่งออกเป็น
           หน่วยความจํา เป็นหน่วยความจําที่มีอยู่ ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ในการเก็บคําสั่ง
หรือข้อมูล แบ่งออกเป็น
           - ROM หน่วยความจําแบบถาวร
           - RAM หน่วยความจําแบบชั่วคราว
           - หน่วยความจําสํารอง    เป็นหน่วยความจําที่อยู่นอกเครื่อง มีหน้าที่ช่วยให้หน่วยความจําหลัก
สามารถเก็บ ข้อมูลได้มากขึ้น
4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) 
           ทําหน้าที่ในการแสดงผลลัทธ์ที่ได้หลังจากการคํานวณและประมวลผล สําหรับอุปกรณ์ที่ ทําหน้าที่
ในการแสดงผลข้อมูลที่ได้นั้นมีต่อไปนี้
           - Monitor จอภาพ
           - Printer เครื่องพิมพ.
           - Plotter เครื่องพิมพ์ที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการลงกระดาษ


ความสำคัญของคอมพิวเตอร์


                ปัจจุบันเทคโนโลยีและการสื่อสารได้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์อุปกรณ์สื่อสารและคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาค้นคว้าและการทำธุรกิจ ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทำให้องค์กรต่างๆ นำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาช่วยในการดำเนินงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกิจและให้บริการบนอินเตอร์เน็ต ตลอดจนการใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการทำงาน
                ไม่เพียงแต่ในองค์กรต่างๆ เท่านั้นที่นำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน ผู้ใช้ตามบ้านโดยทั่วไป ก็ได้จัดหาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ส่วนตัวกันมากขึ้น เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีราคาถูก แต่มีประสิทธิภาพสูง รวมทั้งสามารถใช้งานได้ง่ายกว่าในอดีตมาก จนมีการประมาณการกันว่า ในอนาคตคอมพิวเตอร์จะเป็นอุปกรณ์พื้นฐานในทุกๆ ครัวเรือนเหมือนกับเครื่องรับโทรทัศน์
                ด้วยสถานการณ์ดังกล่าว การเรียนรู้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับเบื้องต้น จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในการทำงานการศึกษาหรือเพื่อความบันเทิง ให้มีประสิทธิภาพและความสะดวกเพิ่มมากขึ้น
                คอมพิวเตอร์มีข้อดีอย่างไร มนุษย์เราจึงได้นำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ได้ เราต้องทราบคุณสมบัติพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เสียก่อน ซึ่งมีอยู่ 5 ประการที่สำคัญดังนี้

                                1. ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic machine)
                                คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการบันทึกข้อมูล ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ การจัดเก็บข้อมูลที่บันทึกผ่านทางแป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถประมวลผลได้ และเมื่อคอมพิวเตอร์ประมวลผลเรียบร้อยแล้ว ข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าจะถูกแปลงกลับให้เป็นรูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้

                                2. การทำงานด้วยความเร็วสูง (speed)
                                เนื่องจากการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นการดำเนินงานต่างๆ จึงสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว (มากกว่าพันล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที)

                                3. ความถูกต้องแม่นยำเชื่อถือได้ (accuracy and reliability)
                                คอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่งที่มนุษย์เขียนโปรแกรมหรือคำสั่งไว้ ถ้าผู้ใช้ป้อนข้อมูลและชุดคำสั่งมีความถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก็จะมีความถูกต้องเชื่อถือได้

                                4. การเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก (storage)
                                คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่บันทึกเข้าไป ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดของคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้านตัวอักษร

                                5. การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล (communication)
                                คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ และสามารถทำงานที่หลากหลายมากขึ้นกว่าการใช้คอมพิวเตอร์แบบระบบเดี่ยว ตัวอย่างเช่น การนำคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อการสืบค้นข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น (remote computer)

                จากคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์เราจะเห็นได้ว่า คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายๆ อย่างที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ หรือถ้ามนุษย์ทำได้ ก็จะใช้เวลามากและมีข้อผิดพลาดมากมาย เช่น การคำนวณตัวเลขหลายหลักเป็นจำนวนมากภายในเวลาจำกัดการทำงานในแบบเดียวกันซ้ำๆ หลายล้านครั้ง หรือการจดจำข้อมูลตัวเลขและตัวหนังสือหลายหมื่นหน้าโดยไม่มีการลืม งานที่น่าเบื่อและยุ่งยากเหล่านี้เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ทำงานแทนได้ โดยเรามีหน้าที่เพียงเป็นผู้สั่งการเท่านั้น




                นักวิชาการหลายท่านได้กำหนดหรือนิยามความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้หลายความหมาย แต่เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้ว ความหมายของคอมพิวเตอร์จะหมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่งที่สามารถรับโปรแกรมและข้อมูล ประมวลผล สื่อสารเคลื่อนย้ายข้อมูลและแสดงผลลัพธ์ได้
                อย่างไรก็ตามการให้นิยามความหมายของคอมพิวเตอร์นั้น ไม่ใช่สาระสำคัญที่จะต้องจดจำหรือกำหนดไว้อย่างตายตัว ขอให้ทราบว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะต้องมีส่วนประกอบพื้นฐาน 4 อย่างดังต่อไปนี้
- มีวงจรนำเข้า (inputและวงจรส่งออก (output)
- มีหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) ที่ใช้ในการคำนวณทางคณิตศาสตร์และการดำเนินการทางตรรกะ
- มีหน่วยความจำที่ใช้ในการเก็บโปรแกรมและข้อมูล
- มีความสามารถในการประมวลผลชุดคำสั่ง
สิ่งใดก็ตามที่มีส่วนประกอบพื้นฐานดังต่อไปนี้ครบถ้วน ก็ถือว่าเป็นคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น ไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในรูปลักษณ์ที่เราคุ้นเคยและจดจำว่านั่นคือคอมพิวเตอร์