วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

แนวคิดในการสร้างงาน VDO

แนวคิดในการสร้างงาน VDO
     การสร้างวิดีโอด้วยตนเองการสร้างสรรค์ผลงานของตนเองด้วยวิดีโอสามารถทำได้ง่ายหากทุกคนสามารถเรียนรู้และเข้าใจการสอนใช้โปรแกรมการสร้างผลงานในรูปแบบวิดีโอ เช่น วิดีโอสอนการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ วิดีโอการสอนสำหรับครู วิดีโอนำเสนอผลงาน Presentation วิดีโอWedding วิดีโอหนังสั้นภาพยนตร์ ซึ่งโปรแกรมที่สามารถใช้สร้างวิดีโอในปัจจุบันมีความหลากหลายให้ผู้ใช้งานเลือกใช้เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของตนเอง ซึ่งการสร้างงานด้วยวิดีโอมีหลากหลายประเภท เราสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมและความต้องการที่จะให้ผลงานที่สร้างด้วยวิดีโอออกมาในรูปแบบลักษณะใด 
การสร้างงานวิดีโอ แบ่งเป็น 2 ประเภท
1.การสร้างงานวิดีโอจากการบันทึก ภาพเหตุการณ์ แสง สี เสียง จากสถานที่จริง ซึ่งอุปกรณืที่ใช้ทำการบันทึกวิดีโอประเภทนี้ คือ กล้องวิดีโอ แล้วสามารถนำมาตัดต่อภาพและเสียง ด้วยโปแกรมสร้างงานวิดีโอ เพื่อให้วิดีที่บันทึกมีความสมบรูณ์ ไร้ความผิดพลาดขณะทำการถ่ายทำ โปรแกรมที่นิยมใช้สำหรับงานประเภทนี้ได้แก่ โปรแกรม Ulead Video Studio โปรแกรม Adobe Premiere Pro CS โปรแกรม Sony Vegus
2.การสร้างงานวิดีโอจากการบันทึกทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ เป็นการสร้างงานวิดีโอประเภทสื่อการสอนมัลติมีเดีย ใช้สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI การสร้างงานวิดีโอชนิดนี้จะมีลักษณะการทำงานโดยการบันทึกภาพและเสียงขณะทำการสอนบรรยายผ่านทางจอภาพคอมพิวเตอร์ เช่นการสอนใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Step by Step การสอนโดยนำเสนอทาง Powerpoint โปรแกรมที่นิยมใช้ได้แก่ hypercam , camtasia เป็นต้น  การใช้งานลักษณะนี้เหมาะสำหรับการทำบทเรียน การสอนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หากเป็นการผลิตวิดีโอสอนใช้งานโปรแกรมใดๆ ก็สามารถต่อไมโครโฟน เปิดโปรแกรมจับภาพเป็นวิดีโอ และโปรแกรมที่ต้องการสอน แล้วทำการบันทึกวิดีโอได้ทันที
การสร้างวิดีโอด้วยการจับภาพหน้าจอคอมพิวเตอร์ มีคำแนะนำดังนี้
1. การอธิบายแต่ละส่วน ให้ทิ้งระยะห่าง ให้ผู้เรียนได้มีเวลาหยุดพัก และทำความเข้าใจกับสิ่งที่เรานำเสนอในวิดีโอ
2. การเลื่อนเมาส์ ต้องเคลื่อนช้าๆ และเป็นเส้นตรง หรือเคลื่อนในแนวเฉียง ห้ามลากเมาส์สะบัดไปมา คนดูอาจรำคาญได้
3. การใช้เพลงบรรเลงประกอบ ขณะบันทึกเสียงจะช่วยให้วิดีโอดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
กรณีที่เป็นเรื่องราวที่ไม่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อาจจะเตรียมสิ่งที่ต้องการสอนหรือนำเสนอ ทำเป็นไฟล์งานนำเสนอด้วย PowerPoint แล้วใช้โปรแกรมประเภทนี้จับภาพอีกทีก็ได้ เพราะเราสามารถพูดบรรยายไปตามหัวข้อที่จัดเรียงไว้ได้ตามต้องการ
โปรแกรมที่ใช้บันทึกวิดีโอจากหน้าจอคอมพิวเตอร์
ลักษณะของไฟล์วิดีโอที่ได้จากการบันทึกจากกล้องวิดีโอ และการบันทึกผ่านจากหน้าจอคอมพิวเตอร์มีการทำงานที่ต่างกัน โดยปกติแล้วหากเป็นการบันทึกวิดีโอจากเหตุการณ์ปัจจุบัน เราจะใช้กล้องวิดีโอในการบันทึก หรือใช้โทรศัพท์มือถือในการบันทึกคลิปวิดีโอขนาดสั้น สำหรับการบันทึกวิดีโอผ่านจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยการทำงานลักษณะแบบนี้เป็นการบันทึกวิดีโอจากโทรทัศน์โดยการแปลงสัญญาณโทรทัศน์เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วทำการบันทึกโดยใช้โปรแกรมช่วยในการบันทึกวิดีโอ โปรแกรมที่นิยมใช้ได้แก่ โปรแกรม Ulead Video Studio 11  หรือจะเป็นการบันทึกไฟล์วิดีโอสดขณะทำการบรรยายผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่ใช้บันทึกวิดีโอลักษณะนี้คือ โปรแกรม Camtasia Studio  เป็นต้น
การใช้โปรแกรมตัดต่อวิดีโอเพื่อให้ผลงานจากวิดีโอ มีความสมบรูณ์ โดยมีภาพและเสียงที่ชัดเจน การใช้งานของโปรแกรมประเภทการตัดต่อภาพวิดีโอ ใช้เพื่อแก้ไขลักษณะของงานวิดีโอที่บกพร่อง โดยการตัดส่วนที่เสียหายออก เพื่อให้ไฟล์วิดีโอที่จะนำไปใช้งานมีความสมบรูณ์ไร้ข้อผิดพลาดจากการบันทึกวิดีโอ ซึ่งแน่นอนว่าการบันทึกวิดีโอสดย่อมเกิดเหตุการณ์ต่างๆมากมาย ที่ทุกคนไม่คาดคิด ดังนั้นการจะทำให้วิดีโอออกมาสมบรูณ์ไร้ข้อผิดพลาด จำเป็นต้องใช้โปรแกรมช่วยในการตัดต่อวิดีโอ ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้ได้แก่ Ulead video studio , Sony Vegas Adobe , Premiere Pro CS เป็นต้น เมื่อเราทำการตัดต่อวิดีโอได้สมบรูณ์แล้ว เรายังสามารถจัดเก็บไฟล์ในรูปแบบต่างๆได้ เช่น AVI , MPEG , WMV ฯลฯ ตามความพอใจของผู้ใช้งาน
การใช้โปรแกรมแปลงไฟล์วิดีโอ
โปรแกรมแปลงไฟล์วิดีโอ หรือโปรแกรมที่เปลี่ยนสกุลไฟล์ต้นฉบับให้สามารถเป็นสกุลไฟล์ในรูปแบบอื่นๆที่ต้องการ เช่น MPEG , MOV , WMV , MP4 , AVI ซึ่งไฟล์สกุลเหล่านี้ เป็นไฟล์ภาพเคลื่อนไหว หรือเป็นกลุ่มของสกุลไฟล์วิดีโอ สาเหตุที่มีสกุลไฟล์ที่ต่างกันเพราะ ไฟล์วิดีโอต่างๆจะมีคุณภาพ หรือความละเอียดของภาพวิดีโอที่ต่างกัน อีกทั้งเพื่อให้สะดวกในการเลือกใช้ให้เข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้เปิดไฟล์ เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นวิดีโอ เป็นต้น โปรแกรมแปลงไฟล์วิดีโอที่ผู้เขียนแนะนำ คือ โปรแกรม Ulead Video Studio 11 เพราะมีไฟล์ Format ให้เลือกใช้หลายไฟล์  ได้แก่  MPEG , MOV , WMV , MP4 , AVI , MP3 , WAV , 3gp ,และอื่นๆเป็นต้น
โปรแกรมสำหรับดูวิดีโอ
ปัจจุบันมีโปรแกรมมากมายที่สามารถเปิดดูไฟล์ประเภทวิดีโอได้ แต่โปรแกรมพื้นฐานที่สามารถดูไฟล์วิดีโอได้ และเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีอยู่แล้วคือโปรแกรม  Windows Media  Player  นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมอื่นๆที่หน้าสนใจ เช่น KMPlayer , Media Player Classic , GOM Player , CyberLink PowerDVD , Winamp  ฯลฯ
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับสร้างวิดีโอ
การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการสร้างวิดีโอ ควรเลือกเครื่องที่เสป็คต้องแรง ซีพียูความเร็วสูง ฮาร์ดดิสก์ความจุสูง เพราะการจัดการกับไฟล์วิดีโอที่มีขนาดใหญ่ หากใช้เครื่องที่เสป็คต่ำ การตัดต่อวิดีโอจะช้ามาก การเลือกคอมพิวเตอร์ที่เป็นโน้ตบุ๊คก็เป็นทางเลือกที่ดี แต่ต้องพิจารณาเสป็คเครื่องเช่นกัน ความเร็วซีพียู แรม ความจุของฮาร์ดดิสก์ต้องสูงๆ สิ่งสำคัญมากๆ อย่างหนึ่งก็คือการ์ดเสียง เมื่ออัดเสียงต้องไม่มีเสียงรบกวน หรือมีน้อยที่สุุด ไม่เช่นนั้นก็ต้องซื้อหามิกเซอร์มาใช้งาน ภาพคอมพิวเตอร์สำหรับสร้างวิดีโอ ไมโครโฟนและมิกเซอร์ขนาดเล็กก็เพียงพอแล้ว กล้องดิจิตอล กล้องถ่ายวิดีโอ เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้เช่นกัน การเลือกซื้อแนะนำให้เลือกรุ่นที่มีระบบป้องกันภาพสั่นไหว และการถ่ายวิดีโอนั้น ต้องพยายามให้มือนิ่งที่สุดการเคลื่อนไหว ต้องเป็นเส้นตรง เพื่อไม่ให้ภาพสั่นเวลาถ่ายภาพอุปกรณ์สำคัญๆ สำหรับสร้างวิดีโอช่วยสอน เช่น คอมพิวเตอร์ พร้อมโปรแกรมสำหรับสร้างวิดีโอ มีไมโครโฟน กล้องดิจิตอล กล้องถ่ายวิดีโอ เป็นต้น

มาตรฐานการแพร่ภาพวีดีโอ

มาตรฐานการแพร่ภาพวีดีโอ
               
 มาตรฐานการแพร่ภาพทั้งสาม ได้แก่ NTSC, PAL และ SECAM เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันในหลายพื้นที่ทั่วโลก และได้มีการพัฒนามาตรฐานใหม่ขึ้นมา เรียกว่า “HDTV (High-Definition Television” ทำให้ผู้ผลิตมัลติมีเดียจำเป็นที่จะต้องทราบถึงมาตรฐานที่ใช้งานในแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสม
                - National Television System Committee (NTSC) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตั้งมาตรฐานที่เกี่ยวกับโทรทัศน์และวีดีโอในสหรัฐ มาตรฐานนี้เป็นการเข้ารหัสข้อมูลแบบสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์  กำหนดให้สร้างภาพด้วยเส้นในแนวนอน 525 เส้นต่อเฟรม ในอัตรา 30 เฟรมต่อวินาที มีสี 16 ล้านสีที่แตกต่างกันและอัตรารีเฟรช เป็น 60 Halt-Frame (Interlace)ต่อวินาที แต่บนจอภาพคอมพิวเตอร์นั้นจะใช้วิธีการที่เรียกว่า “Progressive-Scan” ซึ่งมีความแตกต่างจากจอภาพโทรทัศน์ตรงที่สามารถสร้างภาพเป็นแบบเฟรมต่อเฟรม โดยไม่มีการ Interlacing
                - Phase Alternate Line (PAL)  เป็นมาตรฐานของโทรทัศน์และวีดีโอที่นิยมในแถบยุโรป รวมถึงไทยด้วย เป็นการสร้างภาพจากแนวนอน 625 เส้นต่อเฟรม ในอัตรา 25 เฟรมต่อวินาทีและทำการแสดงภาพด้วยวิธี Interlacing เช่นกันแต่จะแสดงภาพในอัตรารีเฟรช เป็น 50 Halt-Frame ต่อนาที
                - Sequential Color and Memory (SECAM) เป็นมาตรฐานของการแพร่สัญญาณโทรทัศน์และวีดีโอที่ใช้กันในฝรั่งเศส ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และประเทศในพื้นที่ใกล้เคียง ทำการแพร่สัญญาณแบบอนาลอก ส่วนการสร้างภาพจะเป็น 819 เส้น ด้วยอัตรารีเฟรช 25 เฟรมต่อวินาที ซึ่งจะแตกต่างจากมาตรฐาน NTCS และ PAL ในเรื่องการผลิต วิธีการแพร่ภาพออกอากาศ และจากสาเหตุที่ระบบนี้ไม่แตกต่างจากระบบ PAL มากนัก เครื่องรับโทรทัศน์ในยุโรปจึงทำการพัฒนาให้สามารถใช้งานได้ทั้งระบบ PAL และ SECAM
- High Definition Television (HDTV) เป็นเทคโนโลยีของการแพร่ภาพโทรทัศน์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อแสดงภาพที่มีความละเอียดสูง คือ 1280x720 ซึ่งเป็นความละเอียดสำหรับการแสดงภาพเช่นเดียวกับโรงภาพยนต์ แต่ในขณะพัฒนานั้นได้มีการโต้เถียงกันระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมโทรทัศน์กับกลุ่มอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ว่าจะใช้ความละเอียดจอภาพเป็น1920x1080 พิกเซล หลังจากนั้นสรุปได้ว่า ความละเอียดนี้ไม่เหมาะสม ดังนั้นมาตรฐาน HDTV จึงได้กำหนดให้มีความละเอียดของจอภาพเป็น 1280x720

ลักษณะการทำงานของวีดีโอ

ลักษณะการทำงานของวีดีโอ
                
กล้องวีดีโอเป็นการนำเอาหลักการของแสงที่ว่าแสงตกกระทบกับวัตถุแล้วสะท้อนสู่เลนส์ในดวงตาของมนุษย์ทำให้เกิดการมองเห็น” มาใช้ในการสร้างภาพร่วมกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ โดยภาพที่ได้จะถูกบันทึกเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า “สัญญาณอนาลอก” ประกอบด้วยข้อมูลสี 3 ชนิด คือ แดง เขียว น้ำเงิน (Red, Green, Blue : สีRGB) และสัญญาณสำหรับเชื่อมความสัมพันธ์ของข้อมูล (Synchronization Plus : สัญญาณ SYNC) สัญญาณวีดีโอจะถูกส่งไปบันทึกยังตลับวีดีโอ (Video Cassette Recorder : VCR) โดยการแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เป็นสัญญาณดิจิตอลและบันทึกลงบนอุปกรณ์บันทึกข้อมูลด้วยหลักการของสนามแม่เหล็ก การบันทึกจะต้องบันทึกผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า “หัวเทปวีดีโอ” ที่สามารถบันทึกได้ทั้งภาพ เสียง และข้อมูลควบคุมการแสดงภาพ นอกจากบันทึกเป็นม้วนเทปวีดีโอแล้วยังสามารถบันทึกในรูปของสัญญาณวิทยุได้อีกด้วยโดยอาศัยNTSC, PAL หรือ SECAM เพื่อช่วยในการส่งสัญญาณให้สามารถแพร่ภาพทางโทรทัศน์ได้


ชนิดของวีดีโอ

ชนิดของวิดีโอ
                
วิดีโอที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น ชนิดคือ
                1. วิดีโออะนาลอก (Analog Video) เป็นวีดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงให้อยู่ในรูปของสัญญาณอนาลอก (รูปของคลื่นสำหรับวีดีโอประเภทนี้ เช่น VHS (Video Home System) ซึ่งเป็นม้วนเทปวีดีโอที่ใช้ดูกันตามบ้าน เมื่อทำการตัดต่อข้อมูลของวีดีโอชนิดนี้ อาจจะทำให้คุณภาพลดน้อยลง
                2. วีดีโอดิจิตอล (Digital Video)  เป็นวีดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงที่ได้มาจากกล้องดิจิตอล ให้อยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอล คือ กับ 1 ส่วนการตัดต่อข้อมูลของภาพและเสียงที่ได้มาจากวีดีโอดิจิตอลนั้น จะแตกต่างจากวีดีโออนาลอก เพราะข้อมูลที่ได้จะยังคงคุณภาพความคมชัดเหมือนกับข้อมูลต้นฉบับ การพัฒนาของวีดีโอดิจิตอลส่งผลให้วีดีโออนาลอกหายไปจากวงการมัลติมีเดีย เนื่องจากสัญญาณดิจิตอลสามารถที่จะบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี หรืออุปกรณ์บันทึกข้อมูลอื่น ๆ และสามารถแสดงผลบนคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการผลิตมัลติมีเดียบนคอมพิวเตอร์ สามารถเปลี่ยนรูปแบบของสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอลได้ เพียงแต่ผู้ผลิตมีทรัพยากรทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมเท่านั้น


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ vdo



ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ VDO

วิดีโอเป็นองค์ประกอบของมัลติมีเดียที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากวิดีโอในระบบดิจิตอลสามารถนำเสนอข้อความหรือรูปภาพ (ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว) ประกอบกับเสียงได้สมบูรณ์มากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักของการใช้วิดีโอในระบบมัลติมีเดียก็คือ การสิ้นเปลืองทรัพยากรของพื้นที่บนหน่วยความจำเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการนำเสนอวิดีโอด้วยเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real-Time) จะต้องประกอบด้วยจำนวนภาพไม่ต่ำกว่า 30ภาพต่อวินาที(Frame/Second) ถ้าหากการประมวลผลภาพดังกล่าวไม่ได้ผ่านกระบวนการบีบอัดขนาดของสัญญาณมาก่อน
 การนำเสนอภาพเพียง 1 นาทีอาจต้องใช้หน่วยความจำมากกว่า 100 MB ซึ่งจะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่เกินขนาดและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ด้อยลง ซึ่งเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถบีบอัดขนาดของภาพอย่างต่อเนื่องจนทำให้ภาพวิดีโอสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและกลายเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบมัลติมีเดีย  (Multimedia System)





วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558



ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
                1. ด้านการศึกษา
                - ช่วยนำเสนอข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ
                - ช่วยรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในแหล่งข้อมูลเดียวกัน
                - ช่วยให้ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
                - ช่วยแลกเปลี่ยนและนำเสนอแนวความคิดของผู้เรียนและผู้อื่น
                2. ด้านการสื่อสาร
                - ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร
                - เป็นสื่อกลางในรับและส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
                - ช่วยกระจายข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหนึ่งไปยังผู้ใช้ทุกคน
                3. ด้านการบริหารประเทศ
                - เป็นช่องทางการรับรู้ข้อมูลจากประชาชน
                - เป็นช่องทางการนำเสนอข้อมูลไปสู่ประชาชน
                - ส่งเสริมการแสดงออกซึ่งประชาธิปไตย
                - เพิ่มทัศนคติที่เกี่ยวกับการบริหารประเทศด้านบวกให้แก่ประชาชน
                4. ด้านสังคมศาสตร์
                - ช่วยเก็บข้อมูลสถิติด้านสังคมศาสตร์
                - ช่วยคำนวณแนวโน้มปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
                - ช่วยนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของกราฟ  แผนภูมิ  หรือภาพ 3 มิติ  ทำให้สามารถเปรียบเทียบข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น
                5. ด้านวิศวกรรม
                - ช่วยออกแบบและคำนวณโครงสร้างบ้านและอาคาร
                - สร้างโมเดลจำลองก่อนการสร้างโมเดลจริง
                - ควบคุมการทำงานด้านก่อสร้างที่มีความละเอียดอ่อน
                - ช่วยประมวลผลและประเมินสถานการณ์ที่อาจเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต
                6. ด้านวิทยาศาสตร์
                - ช่วยเก็บและประมวลผลข้อมูลในงานวิจัยและการทดลองต่าง ๆ
                - เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์นั้น
                - ช่วยทำงานวิจัยหรืองานทดลองที่มีความละเอียดและมีขนาดที่เล็ก ๆ ได้
                - สร้างแบบจำลองงานทดลองเพื่อลดความผิดพลาดจากการทดลองกับของจริง
                7. ด้านการแพทย์
                - ลดความผิดพลาดและเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยและรักษาโรค
                - เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ
                - ช่วยลดเวลาในการักษาโรค
                8. ด้านอุตสาหกรรม
                - ช่วยควบคุมการผลิตชิ้นงานให้ได้ปริมาณและคุณภาพตามต้องการ
                - ช่วยทำงานในพื้นที่เสี่ยงภัยหรืองานที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้
                - ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน
                - ช่วยคำนวณปริมาณวัตถุดิบ  สินค้า  และกำไร
                9. ด้านธุรกิจ
                - เป็นช่องทางในการนำเสนอสินค้า
                - ช่วยตรวจสอบและสั่งซื้อสินค้าต่าง ๆ
                - ขยายโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ที่มีเงินทุนต่ำ
                - ช่วยคำนวณตัวเลขทางธุรกิจได้อย่างแม่นยำ
                - เพิ่มความสะดวกในการซื้อและขายสินค้าจากทั่วโลก
                10. ด้านธนาคาร
                - ลดขั้นตอนในการดำเนินงาน
                - ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคาร  ทำให้สามารถจัดการด้านการเงินได้ทุกที่ตลอดเวลา
                - ช่วยเก็บข้อมูลลูกค้าไว้ในส่วนกลาง  ทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูลของลูกค้าได้จากทุกธนาคาร
                11. ด้านสำนักงาน
                - ใช้สร้างงานนำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจ
                - ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการพิมพ์เอกสาร
                - ช่วยเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร


               12. ด้านความบันเทิง
                - ช่วยให้เกิดความสนุกสนานและทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
                - เพิ่มทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
                - ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
                - ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านเสมอ